ทำยังไงให้ชีวิตไม่เครียด 7 วิธี ไดัแก่
ความเครียดคืออะไร
สภาวะความเครียด คือ สภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นด้วยความกดดัน ความกลัว ความวิตกกังวล จนกระทั้งส่งผลต่อสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์และความรู้สึก ทำให้เกิดการแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น หงุดหงิดง่าย โมโหร้ายตลอดเวลา เป็นต้น เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มใช้สมองในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดเป็นความเครียดเท่ากับคุณกำลังเริ่มทำลายการทำงานของระบบประสาทและสมองของคุณอย่างที่คาดไม่ถึง เพราะนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายผิดปกติ เริ่มจากการผลิตหรือการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน ความเหนื่อยล้าของร่างกาย เริ่มเกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณท้ายทอย การทำงานของลำไส้แปรปรวน ปวดศีรษะเป็นเวลานาน และยิ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเครียดนอนไม่หลับ เครียดลงกระเพาะได้
ด้วยความน่ากลัวของสภาวะความเครียดที่มีพอ ๆ กับความน่ากลัวของสภาพแวดล้อม ณ ขณะนี้ สิ่งที่จะเข้ามาช่วยบรรเทาความตึงเครียดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ นั่นก็คือหาจัดสรรกิจกรรมคลายเครียดให้กับตนเองเพื่อสามารถรับมือกับความเครียดและสามารถขจัดความเครียด ก่อให้เกิดวิถีแห่งความสุขและคุณภาพชีิวิตที่ดีขึ้น เมื่อไม่มีความเครียด
และวิธีลดเครียด 7 ข้อนี้ได้แก่
1. ตื่นและเข้านอนเวลาเดิมทุกวัน
ซึ่งการตื่นนอนตอนเช้าและเข้านอนในเวลาเดิมทุกวัน จะต้องปรับวิธีการนอนให้เป็นไปตามสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่การตื่นทำงานในตอนกลางคืนและชดเชยการนอนหลับในตอนกลางวัน เพราะกลไกการทำงานของร่างกายเรานั้น ถูกกำหนดเวลาในการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายไว้แล้ว เวลาที่เหมาะสมในการเข้านอนมากที่สุดคือ ช่วง 4 ทุ่ม และเวลาตื่นนอนที่เหมาะสมที่สุดคือ ช่วง ตี 5 - 6 โมงเช้า นั่นก็เพราะว่าการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกายของเรานั้น มีระยะเวลาของการทำงานเป็นตัวกำหนด ทิสโก้ออโต้แคช ขอยกตัวอย่างการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายที่บ่งบอกว่า ทำไมเราจึงต้องนอนและตื่นในเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน
2. ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
เมื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเราอยู่ในสภาวะที่สมดุล ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถถอยห่างจากความเครียดได้ กิจวัตรประจำวันในทุก ๆ วันที่กระทำจนเป็นสุขนิสัยติดตัวมาตั้งแต่เด็ก อีกหนึ่งความสำคัญที่เป็นเหตุผลของสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี สิ่งที่เรามักกระทำเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อช่วยขจัดความเครียดได้นั้น คือการดูแลสุขอนามัยของเราให้ดี ซึ่งการจะดูแลสุขอนามัยให้ถูกหลัก สามารถปฏิบัติได้ตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ
3. กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ตรงเวลา
ยิ่งเครียด ยิ่งมองหาอาหารเข้าปาก นี่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย เมื่อเกิดความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน ยิ่งเครียดก็ยิ่งทานเยอะขึ้นไปเรื่อย ๆ หลาย ๆ คนคงมองว่าการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเพื่อช่วยลดความตึงเครียดนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่จะเลือกรับประทานอาหารอย่างไรต่างหากที่จะช่วยลดความเครียดได้จริง แถมเป็นการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วย ทิสโก้ออโต้แคช เราขอแนะนำกิจกรรมคลายเครียดสนุก ๆ ในการเลือกสรรอาหารที่จะรับประทานเพื่อลดความเครียด เพิ่มความสุขให้แก่ตัวเรา และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารต้องห้ามที่สร้างความเครียดเพิ่มให้แก่ตัวเรา
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ขยับร่างกายเพียงเล็กน้อยเท่ากับช่วยผ่อนคลายความเครียด อีกหนึ่งกิจกรรมคลายเครียดเพื่อเสริมสร้างความสุข แค่เคลื่อนไหวร่างกายด้วยท่าทางง่าย ๆ อย่างการยืดเส้นยืดสาย เดินไปเข้าห้องน้ำ การแกว่งแขนไปมา เพียงแค่ 3 - 5 นาทีก็ช่วยลดความเครียดได้ไปอีกนาน หรือการออกกำลังกายอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโยคะ การวิ่ง การว่ายน้ำ และสาระพัดวิธีมากมายในการออกกำลังกายที่จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมาที่เรียกว่า โดพามีน เป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยทำให้คุณเกิดความรู้สึกมีความสุข กระปรี้กระเปร่า รวมทั้งอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกายจะช่วยทำให้สามารถลดความเครียดได้ พร้อมทั้งผลิตฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยลดต้นตอปัญหาที่เกิดจากความเครียด ซึ่งการออกกำลังกายนั้นไม่จำเป็นต้องออกกำลังในทุก ๆ วัน แต่ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูอาการเหนื่อยล้าจากความเครียด แต่ต้องระวังในการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายแต่พอดี ไม่ควรหักโหมจนเกินไปเพราะจากผลดีจะกลายเป็นผลร้ายได้
5. จัดสรรเวลาสำหรับการทำงานและการพักผ่อน
รู้หรือไม่ การทำงานในแต่ละวัน หากไม่ได้จัดสรรเวลา ระวังความเครียดเข้ามาคืบคลานแทนที่ความสดใสร่าเริงในการทำงานของเรา แน่นอนว่า ในหนึ่งวัน เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงที่เป็นเวลาในการทำงานไม่เพียงพอต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการทำงาน หากไม่ได้จัดสรรเวลาที่ชัดเจน อีกทั้งคนเราะสามารถนั่งหรือยืนทำงานเป็นเวลานาน ๆ ได้จริงหรือ เมื่อคำถามนี้ ได้ถูกพิสูจน์ว่าการจดจ่อทำงานในหลาย ๆ ชั่วโมงติดต่อกันนาน ๆ นั้นไม่ได้ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเท่ากับการทำงานที่มีการจัดสรรเวลาแห่งการพักผ่อน เพราะการพักผ่อนเพียงแค่ 5-10 นาที ในการพักผ่อนร่างกายและสมองของคุณ จะช่วยทำให้คุณเกิดไอเดียในการทำงานเพิ่มมากขึ้นหรือสามารถแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ในการทำงานได้ดี เนื่องจากธรรมชาติของคนเรา ไม่ว่าจะทำงานหักโหมหรือขยันเพียงใด สุดท้ายร่างกายและสมองต้องได้รับการพักผ่อนเช่นเดียวกัน ไม่อย่างนั้นความเครียดได้เข้ามาแทรกแซงขณะที่กำลังทำงานอยู่
6. หาเวลาทำสิ่งที่ชื่นชอบ
เมื่อเกิดสภาวะความเครียดเข้ามาแทรกซ้อนในการดำรงชีวิตหรือเวลาในการทำงาน คงเป็นเรื่องน่าหงุดหงิิดไม่ใช่น้อยสำหรับใคร หลาย ๆ คน นอกจากจะทำให้ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตแล้ว เวลาทำงานก็ส่งผลให้สมองตื้อคิดอะไรไม่ออกอีกด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาว่างจากการทำงานหรือเวลาผ่อนคลายในช่วงวันหยุด อย่าพลาดที่จะมองหากิจกรรมคลายเครียด ทำอะไรสนุก ๆ ในสิ่งที่คุณชอบ เพื่อกระตุ้นต่อมความสุข สดใสร่าเริงของตัวคุณขจัดความเครียดได้อย่างสบาย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ถ่ายภาพ ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เดินทางไปยังสถานที่ที่ชอบ งานประดิษฐ์ เย็บปักถักร้อยสิ่งของต่าง ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย เมื่อคุณได้ทำกิจกรรมในสิ่งที่ชอบแล้ว ร่างกายก็จะหลั่งสารเอ็นโดฟิลออกมาจำนวนมาก รับรองว่าคราวนี้ คุณจะไม่รู้เลยว่าความเครียดคืออะไร เพราะชีวิตของคุณได้รับการผ่อนคลายไปเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งการลงมือทำในสิ่งที่คุณชื่นชอบ นอกจากจะได้ความสุขและรอยยิ้มแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มอบกำไรชีวิตให้กับเรา
7. พักจากการจ้องหน้าจอบ้าง
จ้องหน้าจอนาน ๆ ระวังน็อตในร่างกายหลุด ต้องมานั่งไขกันใหม่เพื่อทำให้ร่ายกายไม่ห่อเหี่ยว หลังจากที่จ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ การจ้องหน้าจอโทรศัพท์ หรือแม้กระทั้งการจ้องหน้าจอโทรทัศน์ก็ตาม หากขึ้นชื่อว่าเป็นการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ แล้วนั้น ผลกระทบหลักที่ต้องสร้างความเสียหายมากที่สุดจากการจ้องหน้าจอนาน ๆ นั่นก็คือสายตาหรือดวงตาของเรานั่นเอง แต่ผลเสียจากการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ ไม่เพียงแค่ดวงตาเท่านั้นที่ได้รับความเสี่ยง อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายของเราก็เสี่ยงไปด้วยเช่นกัน เช่น การที่ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง เป็นต้น ล้วนได้รับผลเสียมาจากการจ้องหน้าจอทั้งสิ้น เมื่อไหร่ที่ร่างกายของเราได้รับอาการบาดเจ็บ
7 วิธี 'รีเฟรชสมอง' ผ่อนคลายความเครียด ไม่ต้องพึ่งยา หรือจัดการกับความเครียดนั่นเอง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์ต่างๆ ที่เราเจออยู่ทุกวัน อาจทำให้เกิด ‘ภาวะเครียด’ ได้โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว ความขัดแย้งในความสัมพันธ์ หรือภาระงานที่หนักอึ้ง ซึ่งความเครียดไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต อารมณ์ ความคิด การนอนหลับ และสภาพจิตใจของเราเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้น วันนี้เราจึงได้รวบรวม 7 วิธีแก้เครียดที่ทุกคนสามารถทำตามได้เองง่ายๆ ที่จะช่วยรีเฟรชสมองและจิตใจให้กลับมาสดใสและสดชื่นพร้อมลุยวันใหม่อีกครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งยา ตามมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง?
1. รับประทานอาหารที่มี NANA นานะ เป็นส่วนประกอบ
นานะ (N-acetylneuraminic acid) หรือที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า ‘กรดไซอะลิค’ (Sialic Acid) มีส่วนช่วยเพิ่มการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของเซลล์ รวมถึงช่วยส่งเสริมการแบ่งเซลล์และการเพิ่มจำนวนของเซลล์ ซึ่งการขาดนานะอาจทำให้เกิด Oxidative Stress หรือภาวะที่ร่างกายขาดความสมดุลระหว่างอนุมูลอิสระ (Free Radicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งภาวะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวล โดยนานะสามารถพบได้ในอาหารบางจำพวก โดยเฉพาะในรังนกแท้ที่มีส่วนประกอบของ นานะ (Nana) หรือ กรดไซอะลิคในสัดส่วนที่สูงถึง 9% ซึ่งมากกว่าอาหารชนิดอื่นอย่าง ไก่ ที่มีนานะเพียง 0.02% หรือ แซลมอนที่พบนานะเพียง 0.01% เท่านั้น
2. ฝึกการหายใจ
การหายใจเข้าออกลึกๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ โดยจะลดการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตอบสนองของร่างกายให้เตรียมพร้อมเผชิญอันตรายหรือภาวะฉุกเฉิน ทำให้ร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติหรือสภาวะผ่อนคลาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าและเบาลง โดยการฝึกหายใจเพื่อผ่อนคลายความเครียดและลดอารมณ์วิตกกังวลนั้นสามารถทำได้ด้วยการหายใจเข้าช้าๆ นับ 1-5 จากนั้นค้างไว้ 2 วินาที แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก ควรทำติดต่อกันประมาณ 4-5 ครั้ง
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้เครียดที่ดีเพราะช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายขึ้นได้ อีกทั้งยังช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นด้วย โดยการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่ง เอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข ซึ่งช่วยให้ร่างกายและจิตใจสดชื่นกระปรี้กระเปร่ารวมถึงยังช่วยให้เราหยุดกังวลและจดจ่อกับปัจจุบันได้มากขึ้นขณะออกกำลังกายด้วย
4. ปรับสมดุลชีวิตการทำงาน และหาเวลาว่างทำสิ่งที่ชอบ
การทำงานหนักอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ซึ่งการปรับสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเครียดและช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจที่เกิดจาก ‘ภาวะ Burnout’ หรือความเหน็ดเหนื่อยซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานหนักเกินไปได้ โดยมีงานวิจัยที่พบว่าบริษัทต่างๆ สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพนักงานให้ดีขึ้นด้วยการให้พนักงานมีสิทธิควบคุมงานของตัวเองได้มากขึ้น ตัดงานที่ไม่จำเป็นออก และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้เกิดความสุขในการทำงาน
5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 6-9 ชั่วโมง ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจอีกด้วย เนื่องจากการพักผ่อนน้อยจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการคิด ความจำ และการตัดสินใจ ทำให้สมาธิในการทำสิ่งต่างๆ ลดลง ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้อารมณ์แปรปรวน ไม่กระปรี้กระเปร่า และหงุดหงิดง่ายกว่าปกติโดยงานวิจัยหนึ่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใหญ่ 273,695 คนในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่มีชั่วโมงนอนเฉลี่ยน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน มีแนวโน้มที่จะมีความทุกข์ทางจิตใจมากกว่าผู้ที่มีชั่วโมงการนอนเฉลี่ยมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน ถึง 2.5 เท่า
6. ออกไปรับแสงแดดเป็นประจำ
การออกไปรับแสงแดดนอกจากจะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินแล้วยังมีส่วนช่วยให้อารมณ์สดชื่นแจ่มใสขึ้นด้วย โดยมีงานวิจัยที่พบว่าการออกไปรับแสงแดดเป็นประจำมีส่วนช่วยในการสังเคราะห์เซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ซึ่งการขาดเซโรโทนินนั้นจะทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล รวมถึงทำให้รู้สึกโกรธหรือหงุดหงิดง่าย ดังนั้น การออกไปเผชิญแสงแดดหรือเปิดบ้านรับแสงธรรมชาติจึงเป็นวิธีแก้เครียดที่ช่วยให้อารมณ์สดใสขึ้นและยังเป็นการบำบัดจิตใจไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เวลาที่เหมาะสมสำหรับการออกไปรับแสงแดดคือช่วงเช้าก่อน 9.00 น. และช่วงเย็นหลัง 16.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดไม่ร้อนมาก
7. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
แม้นิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติดที่เป็นส่วนประกอบในบุหรี่จะช่วยให้ผู้สูบรู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลและทำให้รู้สึกสงบขึ้นได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการสูบบุหรี่จะทำให้ระดับความเครียดในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมามากมาย เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็ง ส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจและก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้